เรื่องการสอนให้เด็กๆรู้จักเคารพสิทธิคนอื่น คุณผู้ใหญ่หลายคนอาจจะเกิดคําถามในใจว่า แล้วจะสอนเด็กๆอย่างไร
คุณครูขอยกตัวอย่างสถานการณ์การแย่งของกันในเด็กๆเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นของเล่น ของใช้เนื่องจากเด็กตัวน้อยๆของพวกเรานั้นยังคงมีความเป็นเด็ก การควบคุมตนเองของเด็กๆก็ยังไม่ดีมากนักขนาดผู้ใหญ่อย่างเรา เวลาอยากได้ของ ไม่ว่าจะเป็นของคนอื่น หรือของที่ไม่มีความจําเป็น อาจจะมีบ้างที่เราก็ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ สุดท้ายก็จบลงที่ว่า พยายามหาวิธีเพื่อได้ครอบครองสิ่งของเหล่านั้นมา
สําหรับเด็กๆก็เช่นกันค่ะ เมื่อเกิดความอยากได้ขึ้นมา เด็กๆจะเข้าไปหาสิ่งของที่อยากได้ตรงๆ ถ้าสิ่งของนั้นมีเจ้าของคนอื่นใช้อยู่ เด็กๆก็จะพยายามแย่งชิงสิ่งนั้นมา และอาจจะจบลงด้วยการทะเลาะ ไม่ว่าจะเป็นการตีหรือการร้องไห้โวยวาย
คุณผู้ใหญ่อย่างเราสามารถพลิกวิกฤติจากเหตุการณ์นี้เป็นโอกาสได้ค่ะ เราสามารถสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะเคารพสิทธิคนอื่นได้จากกรณีนี้ โดยการสอนให้เด็กตกลงกันว่าจะเล่นอย่างไร ถ้าตกลงกันไม่ได้ควร
สอนให้รู้ว่าสิทธิ์ในการเล่นเป็นของใคร เช่น ถ้าเป็นของเล่นส่วนรวม สิทธิ์ก็ควรจะเป็นของคนที่เล่นอยู่ หรือถ้าของเล่นเป็นของส่วนตัว สิทธิ์ก็ควรจะเป็นของเจ้าของ คนที่อยากเล่นด้วยควรที่จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของก่อน คุณครูขอยกตัวอย่างกรณีสิ่งของเป็นของส่วนรวม เช่น ของเล่นในบ้าน หรือในโรงเรียน ที่ใครๆก็สามารถเล่นได้
ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนคุณครูเอง “พี่เอกําลังอ่านนิทานเรื่องลูกหมูสามตัว น้องบีเดินผ่านมาเห็น อยากจะอ่านนิทานเรื่องนี้บ้าง เลยเดินเข้าไปหยิบจากมือพี่เอ แต่พี่เอก็ไม่ยอมเลยเกิดการยื้อแย่งกัน”
สิ่งแรกที่คุณครูทํา คือ เข้าไปจับหนังสือเล่มที่เด็กๆกําลังแย่งกัน เพื่อหยุดเหตุการณ์ทะเลาะกัน และถามต่อว่าเกิดอะไรขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่าเหตุการณ์ หลังจากเด็กๆเล่าเหตุการณ์ให้ฟังแล้วคุณครู
ผมเปียอาจจะเสนอแนวทางในการเล่นด้วยกัน เช่น “แบ่งกันเล่นได้มั้ยคะ” คําตอบที่เด็กตอบมาสําคัญมากค่ะถ้าทั้งคู่ตอบว่า “ได้” คุณครูก็จะปล่อยหนังสือเล่มนั้น และนั่งดูเด็กๆเล่นด้วยกัน พร้อมกับชื่นชมเด็กๆทั้งสองที่แสดงพฤติกรรมที่น่ารัก แบ่งปันกัน แต่ถ้าคําตอบของเด็กคนใดคนนึงตอบว่า “ไม่” คุณครูก็จะเคารพในคําตอบของเด็กคนนั้นเช่นกัน และลองช่วยกันหาแนวทางการแก้ปัญหาขั้นต่อไป
วิธีการแก้ปัญหาวิธีการหนึ่งที่ได้ผลดี คือ การผลัดกันเล่นค่ะ โดยคุณครูจะบอกกับเด็กๆว่า “หนังสือเล่มนี้มีเล่มเดียว เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ได้ ถ้ามีเด็กมากกว่าหนึ่งคนอยากอ่านหนังสือเล่มนี้
เราจะผลัดกันอ่านนะคะ” โดยที่เราจะให้เกียรติคนที่อ่านอยู่ก่อน เมื่อครบเวลาที่กําหนดก็จะส่งต่อให้คนที่รออ่านคนถัดมา ถ้าเด็กคนไหนรอไม่ไหว ก็สามารถไปเล่นของเล่นชิ้นอื่น หรืออ่านหนังสือเล่มอื่นแทนได้
เวลาที่กําหนด คุณผู้ใหญ่สามารถที่จะใช้นาฬิกาเป็นอุปกรณ์ช่วย โดยการตั้งเวลาเตือนเมื่อครบเวลาที่กําหนดได้ค่ะ สําหรับคุณครูจะใช้เวลาธรรมชาติค่ะ เช่น การร้องเพลง 2 เพลง และนับ 1-10 จึงหมดเวลา
เหตุผล คือ ถ้าวันหนึ่งคุณครูไม่ได้อยู่ด้วย ณ เวลานั้นกับเด็กๆ เด็กๆจะได้สามารถกําหนดเวลากันเอง โดยใช้วิธีที่เด็กๆสามารถทํากันเองได้
จากเหตุการณ์ที่ยกตัวอย่างให้ฟัง การเรียนรู้ที่จะเคารพสิทธิของผู้อื่น สามารถเกิดขึ้นได้จากตัวคุณผู้ใหญ่เอง ที่เคารพในตัวเด็ก เคารพคําตอบที่เด็กเลือก และตัวเด็กเองก็เรียนรู้ที่จะเคารพสิทธิผู้อื่นจากการ
ทําข้อตกลงร่วมกัน นอกจากเด็กเรียนรู้เรื่องเคารพสิทธิผู้อื่นแล้ว เด็กยังเรียนรู้เรื่องการแก้ปัญหาที่ไม่ได้จบลงด้วยการทะเลาะร้องไห้โวยวายด้วยค่ะ